RSS Feeds

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

มารู้จักหน่วยความจุหรือขนาดข้อมูลกัน


หน่วยที่ใช้ในการวัดขนาดของข้อมูลโดยทั่วไปมีดังนี้

  • บิต (Bit) : เป็นหน่วยวัดที่ใช้ในการบอกขนาดของข้อมูลที่มีขนาดเล็กที่สุด โดยแต่ละบิตถูกแสดงด้วยตัวเลขไบนารี่ (Binary Digits) คือ "0" หรือ "1" ซื่งเป็นตัวเลขที่บ่งบอกถึงสถานะการทำงาน
  • ไบต์ (Byte) : เป็นหน่วยวัดพื้นฐานที่สำคัญสำหรับใช้ในการบอกขนาดของข้อมูลหรือไฟล์ที่สามารถพบเห็นได้ทั่วไป โดย 1 ไบต์จะมี 8 บิต ซึ่งสามารถใช้แทนตัวอักษรใดๆ 1 ตัว โดย 1 ตัวอักษรนั้นอาจจะเป็นตัวเลข, พยัญชนะ หรือสัญลักษณ์ต่างๆ
  • กิโลไบต์ (Kilobyte ตัวย่อคือ MB) : จะมีค่าเท่ากับ 1,048,576 ไบต์ หรือประมาณ 1ล้านไบต์ซึ่งเที่ยบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1 ล้านตัวหรือประมาณหนังสือหนึ่งเล่ม
  • กิกะไบต์ (Gigabyte ตัวย่อคือ GB) : เป็นหน่วยวัดที่มักจะใช้บอกความจุของอุปกรณ์จำพวก ฮาร์ดดิสก์,แผ่นดีวีดี และอื่นๆ โดยจะมีค่าเท่ากับ 1,073,741,824 ไบต์ หรือประมาณ 1 พันล้านไบต์ ซึ่งเทียบเท่ากับตัวอักษรประมาณ 1 พันล้านตัวหรือประมาณหนังสือที่ถูกบรรจุอยู่ในตู้จำนวน 1 ตู้
  • เทอราไบต์ (Terabyte ตัวย่อคือ TB) : เป็นหน่วยวัดที่มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งปัจจุบันมีอุปกรณ์เพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีความจุมากถึงระดับนี้ แต่ด้วยปริมาณความต้องการข้อมูลที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจึงมีแนวโน้มว่าอีกไม่นานความจุระดับนี้จะเริ่มมีให้เห็นแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งเทอราไบต์จะมีค่าเท่ากับ 1,099,511,627,776 ไบต์ หรือประมาณ 1 ล้านล้านไบต์ ซึ่งเทียบเท่าตัวหนังสือ 1 ล้านล้านตัวหรือประมาณหนังสือ 1 ห้องสมุด ทิปดีดี

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รู้จักกับภาษา C


ก่อนที่จะเริ่มเขียนภาษา C ขึ้นมานั้น สิ่งรกที่ควรทำคาวมเข้าใจก็คือ รายละเอียดทั้งหมดของภาษา C เพื่อเข้าใจถึงที่มา ความสามารถ รวมถึงลักษณะการทำงานโดยรวมของภาษา เมื่อศึกษาถึงเรื่องใดก็ตาม การทำความเข้าใจถึงรากฐานของเรื่องนั้นย่อมจะทำให้เรามีพื่นฐานพร้อมที่จะเรียนรู้เนื้อหาในรายละเอียดต่อไปได้เป็นอย่างดี

รู้จักกับภาษา C

ภาษา C เป็นภาษาที่เก่าแก้ถือกำเนิดมายาวนาน โดยแต่เิดิมนั้นภาษา C ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้เป็นภาษาสำหรับการสร้างระบบปฎิบัติการยูนิกซ์ เนื่องจากในขนะนั้นระบบปฎิบัติการยูนิกซ์เขียนด้วยภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ซึ่งเป็นภาษาที่ยึดติดกับฮาร์ดแวร์ของเครื่อง ดังนั้นการที่จะย้ายระบบปฎบัติการไปใช้กับเครื่องอื่นจึงเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้เลย ซึ่งนันเป็นข้อเสียที่ค่อนข้างใหญ่ของภาษาแอสเซมบลี (Assembly)
ดั้งนั้นภาษา C ซึ่นเป็นภาษาที่ไม่ยึดติดกับฮาร์ดแวร์จึงถูกพัฒนาขึ้นมา ในปัจจุบันภาษา C ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่งานการสร้างระบบปฎิบัติการเท่านั้น แต่สามารถนำไปใช้สร้างโปรแกรมเพื่องานในทุกประเภท เช่น งานเกี่ยวกับการคำนวณ ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์/ฮาร์ดแวร์ชนิดต่างๆ การจัดการฐานข้อมูล หรือสร้างโปรแกรมสำหรับจัดพิมพ์เอกสาร เป็นต้น


ประวัติของภาษา C

ภาษา C คิดค้นขึ้นเป็นครั้งแรกโดย เดนนิส ริทชี่ (Dennis Ritchie) ที่ห้องแล็บเบล (Bell Labs) ในปี ค.ศ.1972 โดยได้แนวคิดมาจากภาษา BCPL พัฒนาขึ้นโดย มาร์ติน ริชาร์ด (Martin Richards)
และ ภาษา B ที่เขียนขึ้นโดย เคน ทอมพ์สัน (Ken Thompson) เพื่อนำมาพัฒนาต่อจนได้ภาษาใหม่ที่มี
ประสิทธิภาพการทำงานสูง หลังจากนั้นในปี ค.ศ.1978 ภาษา C จึงได้รับการเผยแพร่อย่างเป็นทางการโดย เคอร์นิกแฮน(Kernighan) และเดนนิส ริทชี่


จุดเด่นของภาษา C

ในปัจจุบันภาษา C ได้รับการยอมรับและใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ซึ่งสาเหตุน่าจะมาจากเหตุผลดังต่อไปนี้!

  • ภาษา C เป็นภาษาที่มีการกำหนดมาตรฐานสำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรุ่น และระบบปฎิบัติการทุกชนิด ทำให้โครงสร้า้งทางภาษา ฟังก์ชันและไลบรารี(library) ต่างๆ สามารถนำไปใช้งานระหว่างเครื่องแต่ละรุ่นและระบบปฎิบัติการแต่ละชนิดได้
  • ปัจจุบันนี้มีการพัฒนาตัวแปลภาษา C ขึ้นมา สำหรับใช้งานกับเครื่องทุกรุ่น และระบบปฎิบัติการทุกชนิด ดังนั้นไม่ว่าเราจะเครื่องรุ่นใด และระบบปฎิบัติการชนิดใดก็ตาม ก็สามารถเขียนโปรแกรมภาษา C ได้
  • โปรแกรมที่เขียนด้วยภาาา C มีขนาดเล็กและทำงานได้เร็ว
  • ภาษา C มีโครงสร้างภาษาที่ดี และเครื่่องหมายสำหรับดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการคำนาณทางคณิตศาสตร์ ตรรกศาสตร์ หรือการเปรียบเทียบ มีประสิทธิภาพการทำงานสูง
  • สามารถเขียนคำสั่งภาษา C เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวณ์บางส่วนได้
  • มีฟังก์ชันสำเร็จรูปสำหรับงานประเภทต่างๆ ให้เลือกใช้มากมาย ซึ่งช่วยประหยัดเวลาในการเขียนคำสั่ง

รายงานจาก ทิปดีดี